วันพุธที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2553

คุณธรรมและมารยาทในการสื่อสาร

คุณธรรมและมารยาทการสื่อสารในบริบทต่างๆ
การสื่อสารอาจเกิดขึ้นได้ในบริบทที่ต่างกัน คำว่า บริบท ในที่นี้ หมายถึง สถานที่ บุคคล และโอกาส จะเห็นได้ว่า คุณธรรมและมารยาทมีความสำคัญต่อการสื่อสารในบริบทต่างๆ ซึ่งมีดังนี้
การสื่อสารในครอบครัว
๑. สมาชิกในครอบครัว ต้องคำนึงว่า แต่ละคนอาจจะมีประสบการณ์มาไม่เหมือนกัน ทำให้คำพูดที่สื่อสารระหว่างบุตรกับบิดามารดาหรือผู้ปกครอง อาจทำให้มีความไม่เข้าใจเกิดขึ้นได้ จึงต้องมีการอธิบายเพื่อให้เกิดความเข้าใจ และสมาชิกในครอบครัวต้องมีความตั้งใจดีต่อกัน ยอมรับซึ่งกันและกันและใช้เหตุผลพูดกัน
๒. การสื่อสารในครอบครัว ถึงแม้ว่าจะเป็นการสื่อสารอย่างเป็นกันเอง แต่ก็ต้องระมัดระวังการใช่ข้อความบางอย่างที่อาจทำให้เกิดความขัดข้องหมองใจกัน หรือเข้าใจไม่ตรงกัน เพราะจะทำให้เกิดปัญหาในครอบครัวก็ได้
๓. คนในครอบครัวควร แลกเปลี่ยนประสบการณ์ซึ่งกันและกัน เพราะคำบางคำในแต่ละสมัยสื่อความหมายไม่เหมือนกันเช่น ชื่อเรียกของสีผู้ใหญ่มักจะเรียกสีส้ม ว่าสีแสด คำที่ขึ้นอยู่กับยุคสมัยเหล่านี้อาจจะทำให้เกิดความขุ่นข้องหมองใจกันระหว่างบุคคลในครอบครัวที่มีอายุต่างวัยกัน จึงจำเป็นที่คนในครอบครัวควรเรียนรู้คำที่ใช้สื่อสารกันในยุคสมัยของแต่ละคน
๔. การสื่อสารในครอบครัว ควรคำนึงถึงมารยาทที่ดีในการพูดซึ่งกันและกัน เพราะจะทำให้มารยาทเหล่านี้ติดตามไปในการพูดในกาลเทศะต่างๆ เช่น ไม่พูดข่ามศีรษะผู้อื่น ไม่ควรตะโกนพูดกัน และไม่แย่งกันพูดเป็นต้น
การสื่อสารในโรงเรียน
๑. การสื่อสารในโรงเรียน อาจใช้เวลานาน เพราะเรื่องราวที่ใช้สื่อสารอาจจะมีปริมาณมาก ผู้ส่งสารจึงจำเป็นต้องบอกผู้รับสารว่าจะใช้เวลามากแค่ไหน และพูดอย่างไรเรื่องอะไรบ้าง ผู้ส่งสารควรรักษาเวลา และพูดไม่พูดนอกเรื่อง ควรพูดในขอบเขตของเรื่องที่จะพูด ส่วนผู้รับสารควรตั้งใจและอดทนฟัง รวมถึงต้องให้เกียรติผู้พูดด้วยเช่น การลุกออกจากที่ประชุมเมื่อมีกิจธุระควรขออนุญาตและทำความเคารพผู้ส่งสารซึ่งเป็นมารยาทที่ควรปฏิบัติต่อผู้เข้าประชุม
๒. การสื่อสารในโรงเรียน บางทีอาจจะมีการโต้แย้งถกเถียงกันระหว่างผู้ส่งสาร กับผู้รับสารได้ การโต้แย้งถกเถียงกันควรคำนึงถึงประโยชน์ที่จะได้รับทั้งสองผ่ายและควรเหตุผล ไม่พูดหยาบคายไม่ควรใช้อารมณ์เพราะจะนำไปสู่การทะเลาะวิวาทได้
๓. การสื่อสารในโรงเรียน อาจมีทั้งการสื่อสารระหว่างบุคคลหรือสื่อสารในกลุ่ม ซึ่งข้อเท็จจริงบางอย่างไม่ควรนำมาเผยแพร่ เพราะจะมีผลเสียหายสะท้อนกลับมา ถึงบางเรื่องจะเผยแพร่ได้ก็ควรคำนึงเสมอว่าไม่ควรเอาเรื่องไปพูดให้บิดเบือนจากความเป็นจริง
๔. ควรระมัดระวังท่าทาง การพูดที่ใช้ติดต่อสื่อสารกัน เพราะในโรงเรียนเป็นที่ที่ทุคลสามารถเข้ามาเพื่อติดต่อธุระบางอย่างได้เช่นผู้ปกครองเข้มารับบุตร ซึ่งในการสื่อสารกันระหว่างเพื่อนบางคำอาจจะดูไม่หยาบคาย แต่ในสายตาของคนภายนอกอาจจะเห็นว่าเป็นการกระทำที่ไม่ดี และอาจทำให้เสียภาพลักษณ์ของโรงเรียนไป
๕. บุคคลที่ทำงานภายในโรงเรียน เช่น นักการ ครู หรือผูบริหารจำเป็นต้องมีการสื่อสารซึ่งกันและกัน จึงควรให้เกียรติซึ่งกันและกัน ซื่อสัตย์ต่อกัน ไว้วางใจกัน และเคารพผู้ที่อาวุโสกว่า จะช่วยให้การสื่อสารเป็นไปอย่างราบรื่น

การสื่อสารในวงสังคมทั่วไป
๑. คำทักทาย ควรใช้คำทักทายที่เหมาะสมสุภาพ และควรศึกษาประเพณีแต่ละท้องถิ่นด้วย เพราะการทักทายของแต่ละท้องถิ่นนั้นมีทำเนียมการทักทายที่ไม่เหมือนกัน
๒. ในบางโอกาส จะมีการสื่อสารเพื่อการแสดงความยินดี หรือแสดงความเสียใจ ซึ่งมักจะกระทำกันด้วยวาจา
๓. การสื่อสารในวงสังคมนั้น จะมีการติดต่อกับบุคคลที่เราไม่รู้จักการพูดด้วยต้องใช้คำสุภาพตามสมควร และต้องพูดตรงประเด็น
๔. ในการคบหากับชาวต่างชาติ เราก็ควรจะศึกษามารยาท และประเพณีที่สำคัญๆของกันและกัน แต่ก็ควรระลึกไว้ว่าชาวต่างประเทศจำนวนมากรู้ภาษาไทย จึงควรระวังการใช้ถ้อยคำที่สุภาพ

Section: การศึกษา การเรียนการสอน
สัญญาอนุญาต: ซีซี: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน Cc-by-nc-sa
สร้าง: 29 พฤศจิกายน 2552 11:53 แก้ไข: 29 พฤศ

ประวัติโรงเรียนบ้านคำเจริญ

โรงเรียนบ้านคำเจริญ  ก่อตั้งเมื่อวันที่ 29 กันยายน 2519 โดยกองกำกับตำรวจตระเวนชายแดนเขต 4โดยมี จ.ส.ต. น้อม  ไพรสณฑ์ เป็นผู้เริ่มก่อสร้าง มีนักเรียนเปิดทำการสอนครั้งแรก 31 คนโดยมีครูจากกองกำกับตำรวจตระเวนชายแดนเขต 4 มาทำการสอน  โดยชาวบ้านได้ปลูกเพิงหญ้าเพื่อใช้เป็นอาคารเรียน ต่อมาคุณชวลิต รุ่งแสงพร้อมคณะได้บริจาคเงินห้kหมื่นบาท เพื่อก่อสร้างอาคารเรียน เป็นอาคารไม้และสร้างเสร็จเมื่อวันที่ 20กันยายน 2521 

                               

    เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2522 โรงเรียนได้โอนมาขึ้นตรงต่อสำนักงานการประถมศึกษา อำเภอโพนพิสัย สำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดหนองคาย โดยมีนายศักดิ์สิทธิ์ น้อยตำแย รักษาการในตำแหน่งครูใหญ่  มีครูยืมตัวมาช่วยราชการ 3 คน จากโรงเรียนบ้านคำปะกั้ง,โรงเรียนบ้านโนนสะอาดและโรงเรียนบ้านปัก














        
                                     


     ต่อมานายศักดิ์สิทธิ์ น้อยตำแย ได้ไปดำรงตำแหน่งครูใหญ่ ที่โรงเรียนบ้านโนนสะอาด สำนักงานประประถมศึกษาจังหวัดหนองคาย จึงได้แต่งแต่งตั้งให้นายวันชัย ศรีสม มาดำรงตำแหน่งครูใหญ่แทน







ในปีงบประมาณ 2527 โรงเรียนได้รับงบประมาณเพื่อสร้างอาคารเรียน แบบ สปช.105/26 จำนวน 1 หลัง และบ้านพักครู แบบ สปช.301/26 จำนวน 1 หลัง และในปีงบประมาณ 2529 ได้งบประมาณเพื่อก่อสร้างอาคารเรียน แบบ สปช.102/26 จำนวน 1 หลัง ส้วมแบบ สปช.601/26 จำนวน 1 หลัง 2 ที่นั่ง





วันที่ 6 พฤศจิกายน 2530 นายวันชัย ศรีสม ได้ย้ายไปดำรงตำแหน่งครูใหญ่โรงเรียนบ้านคำจำปา จึงแต่งตั้งให้นายคูณ โคตะมี รักษาการในตำแหน่งครูใหญ่แทน
          

ต่อมาวันที่ 20 มิถุนายน 2531 นายพิบูลย์  เหง้าสุวรรณ ได้มาดำรงตำแหน่งครูใหญ่แทนตำแหน่งที่ว่าง และได้ขอปรับตำแหน่งเป็นอาจารย์ใหญ่ เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2536 จากนั้นได้ขอปรับตำแหน่งเป็นตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2541 เป็นต้นมา
           


          

เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2551 นายทองคำ ปาปะโข ได้มาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน และต่อมาวันที่ 15 ธันวาคม 2553 ได้มีนายสถิตย์ ภูชาดึก มาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนจนถึงปัจจุบัน
                             
               




ข้อมูลทั่วไป
                โรงเรียนบ้านคำเจริญ ตั้งอยู่เลขที่ 140 หมู่ 3 บ้านคำเจริญ ตำบลบ้านโพธิ์ อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การประถมศึกษาหนองคาย เขต 2
                เปิดทำการสอนตั้งแต่ระดับอนุบาลจนถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีเขตพื้นที่บริการ 1 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ 3 บ้านคำเจริญ
                สีประจำโรงเรียน คือ สีแดงและสีขาว
                ปรัชญาประจำโรงเรียน คือ สิกขา กาโม โหติ  ผู้ใฝ่ในการศึกษา คือ ผู้เจริญ
                ในปีการศึกษา 2553 มีจำนวนนักเรียนทั้งสิ้น 123 คน ผู้บริหาร 1 คน และครูจำนวน 7 คน ครูอัตราจ้าง 1 คน ลูกจ้างประจำ 1 คน

                         



วิสัยทัศน์
            มีความรู้คู่คุณธรรม  ก้าวนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  รักษ์สิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมท้องถิ่น

กลยุทธ์
1. คุณธรรมนำความรู้ น้อมนำเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติ
2. ขยายโอกาสทางการศึกษาขั้นพื้นฐานของประชากรวัยเรียนอย่างกว้างขวางและทั่วถึง
3. พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาทุกระดับ
4. กระจายอำนาจและส่งเสริมความเข้มแข็งให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา
5. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง ชุมชน ภาคเอกชนและท้องถิ่นในการจัดการศึกษา
                                               

                                                

พันธกิจ
     1. จัดการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับวัยและธรรมชาติของผู้เรียน
2. พัฒนาผู้เรียนให้สามารถเรียนรู้ได้เต็มศักยภาพ  คำนึงถึงความแตกต่างของผู้เรียน
3. จัดการเรียนรู้ให้กับเด็กพิการเรียนร่วม
4. ปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรอย่างต่อเนื่องเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนและท้องถิ่น
5. จัดกิจกรรมส่งเสรมคุณธรรม จริยธรรมให้เหมาะสมกับผู้เรียน
6. ร่วมกับชุมชนในการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมประเพณีและวัฒนธรรมท้องถิ่น
7. ประสานความร่วมมือกับชุมชนในการจัดบริการการศึกษาในทุกระดับการศึกษา
8. พัฒนาบุคลากรสู่มาตรฐานวิชาชีพ

เป้าประสงค์ 
         1. นักเรียนระดับก่อนประถมศึกษาได้รับการเตรียมความพร้อมทุกคน
2. นักเรียนมีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานครบทุกสาระการเรียนรู้
3. นักเรียนทุกคนมีคุณธรรม จริยธรรม ศรัทธาในวัฒนธรรมท้องถิ่น ดำรงชีวิตอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข




ข้อมูลสิ่งก่อสร้าง
       1. อาคารเรียนแบบ สปช. 102/26 สร้างปีงบประมาณ 2529 ใช้งบประมาณจากหน่วยงานต้นสังกัด 560,000 บาท สภาพอาคาร พอใช้
                2. อาคารเรียนแบบ สปช. 105/26 สร้างปีงบประมาณ 2527 ใช้งบประมาณจากหน่วยงานต้นสังกัด 840,000 บาท สภาพอาคาร พอใช้
                3. อาคารอเนกประสงค์ แบบ สปช. 202/26 สร้างปีงบประมาณ 2526 ใช้งบประมาณจากหน่วยงานต้นสังกัด 824,000 บาท สภาพอาคาร พอใช้
                4. อาคารอเนกประสงค์ แบบ สปช. 203/26 สร้างปีงบประมาณ 2526 ใช้งบประมาณจากหน่วยงานต้นสังกัด 430,000 บาท สภาพอาคาร พอใช้
                5. อาคารบ้านพักครู แบบ สปช. 301/26 สร้างปีงบประมาณ 2527 ใช้งบประมาณจากหน่วยงานต้นสังกัด 150,000 บาท สภาพอาคาร พอใช้
                6. ส้วมแบบ สปช. 601/26 จำนวน 2 ที่นั่ง สร้างปีงบประมาณ 2531 ใช้งบประมาณจากหน่วยงานต้นสังกัด 22,000 บาท สภาพอาคาร พอใช้
                7. ส้วมแบบ สปช. 601/26 จำนวน 4 ที่นั่ง สร้างปีงบประมาณ 2547 ใช้งบประมาณจากหน่วยงานต้นสังกัด 92,000 บาท สภาพอาคาร ดี
                8. ถังเก็บน้ำ ฝ.33 สร้างปีงบประมาณ 2529 ใช้งบประมาณจากหน่วยงานต้นสังกัด 35,000 บาท สภาพ พอใช้
                9. ที่ราชพัสดุ ได้รับปีงบประมาณ 2519 จำนวนพื้นที่ทั้งหมด 13 ไร่ 16 ตารางวา